Six Sigma คืออะไร?

Six Sigma คือแนวคิดในการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือกระบวนการทำงานเพื่อลดข้อผิดพลาดและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เป้าหมายของ Six Sigma นั้นคือต้องการให้สินค้ามีความสมบูรณ์มากที่สุด(Perfect) ข้อผิดพลาดไม่ควรเกิน 3.4% ต่อการผลิตหนึ่งล้านชิ้น โดยแนวทางการปรับปรุงคุณภาพจะกระบวนการ DMAIC เพื่อช่วยให้การปรับปรุงคุณภาพประสบความสำเร็จ ปัจจุบันแนวคิดนี้ถูกประยุกต์ใช้กับหลายอุตสาหกรรมเช่น การผลิต การดูแลสุขภาพ การเงิน ซอฟต์แวร์ การบริการ และความพึงพอใจของลูกค้า 

ที่มาของ Six Sigma

     เกิดขึ้นในปี 1980 โดย Bill Smith เป็นวิศวกรของบริษัท Motorola โดยเขากำลังมองหาเครื่องมือในการควบคุมคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน จึงทุ่มเทและคิดค้น Six Sigma ขึ้นมาจนถูกนำไปใช้กันทั่วโลก ชื่อของ Six Sigma นั้นมาจากกราฟกราฟระฆังคว่ำ(Bell Curve) ที่ใช้ในเชิงสถิติ ซึ่งจะมีค่าอยู่ช่วงหนึ่งที่เป็นค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ห่างจากค่าเฉลี่ย(ปลายระฆังคว่ำ) จะมีอัตราประมาณ 3.4% ซึ่งตัวเลขนี้เองถูกนำมากำหนดการผลิตต่างๆว่าของที่เสียนั้นจะต้องต่ำกว่า 3.4% ในการปรับปรุงกระบวนการทำงานแบบ Six Sigma จะแบ่งออกเป็น 2 วิธีด้วยกันคือ DMAIC และ DMADV วิธีแบบ DMAIC จะเน้นปรับปรุงกระบวนการทำงานกับธุรกิจที่มีอยู่แล้ว ส่วนแบบ DMADVจะเน้นปรับใช้กับผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

DMAIC

1. Define (ระบุปัญหา) คือการระบุปัญหาว่าอะไรคือปัญหาและทำไมถึงต้องแก้ไข ปัญหาโดยส่วนใหญ่มักมาจากลูกค้า ดังนั้นเราควรทราบว่าลูกค้าต้องการอะไร การใช้งานมีปัญหาอะไรและเราจะแก้ปัญหาได้อย่างไร จากนั้นก็กำหนดเป้าหมายสิ่งที่ต้องการปรับปรุง ต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้างเพื่อที่จะทำให้เป้าหมายบรรลุได้ คอยตรวจสอบเป้าหมายที่ตั้งไว้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องว่ามาถูกทางแล้ว
ตัวอย่าง: มีโรงงานผลิตรถยนต์แห่งหนึ่งส่งมอบรถยนต์ไปให้ลูกค้าแล้วพบว่าที่ปัดน้ำฝนมีคุณภาพที่แตกต่างกัน ขณะเดียวกับผู้บริหารต้องการเพิ่มกำลังการผลิตรถยนต์ในแต่ละวันให้มากขึ้น

2. Measure (การวัด) กำหนดตัวชี้วัดขึ้นมาว่าปัญหาที่ระบุไว้ในขั้นตอนแรกนั้นถูกแก้ไขหรือไม่ โดยการชี้วัดนั้นควรเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ การเลือกเครื่องมือ (Tools) ที่ใช้ในการวัดอย่างเหมาะจะช่วยให้การวัดมีความาแม่นยำมากขึ้น เมื่อได้ข้อมูลจากการวัดครั้งนี้แล้วก็สามารถประเมินได้ว่าปัญหาที่ระบุไว้ถูกแก้ไขหรือไม่
ตัวอย่าง: ออกแบบการวัดจากข้อมูลการผลิตรถยนต์ เช่น 1 วันมีการผลิตรถยนต์ 1,000 คัน รถยนต์แต่ละคันได้รับการติดตั้งที่ปัดน้ำฝน เครื่องติดตั้งที่ปัดน้ำฝนมีอยู่ทั้งหมด 30 เครื่อง เวลาที่ใช้ในการติดตั้งที่ปัดน้ำฝนแต่ละเครื่อง ข้อบกพร่องจากการติดตั้งที่ปัดน้ำฝนแต่ละเครื่อง

3. Analyze (การวิเคราะห์หาปัญหา) นำข้อมูลจากขั้นตอน Measure มาวิเคราะห์ วิเคราะห์ว่าข้อมูลที่นำมานั้นจะสามารถตรวจสอบได้ วิเคราะห์ว่าทุกๆปัจจัยจะได้รับการพิจารณาแล้ว วิเคราะห์ว่าปัญหานั้นเกิดมาจากอะไร
ตัวอย่าง: เราพบว่าเครื่องติดตั้งที่ปัดน้ำเครื่องหนึ่งชำรุด ทำให้การผลิตใช้เวลาเพิ่มขึ้นเนื่องจากพอเครนยกตัวรถมาถึงเครื่องติดตั้งที่ปัดน้ำฝนที่ไม่ทำงานก็ไม่สามารถติดตั้งได้ ต้องเสียเวลายกตัวรถไปยังเครื่องถัดไป

4. Improve (การปรับปรุง) คือการที่ข้อมูลหรือวิธีการที่จะมาแก้ปัญหาได้จากขั้นตอน Analyze ในขั้นตอนนี้เราอาจพบข้อมูลหรือวิธีการที่จะนำมาซึ่งการแก้ปัญหาได้เช่น การเปลี่ยนแปลงของข้อมูลตัวแปร X จะส่งผลต่อตัวแปร Y 
ตัวอย่าง: เปลี่ยนเครื่องติดตั้งที่ปัดน้ำฝนที่ชำรุดและเพิ่มประสิทธิภาพโดยการโปรแกรมเข้าไปใหม่ว่าหากพบเครื่องที่ชำรุดอีกไม่ต้องให้เครนยกตัวรถมาวางยังเครื่องที่ชำรุด ซึ่งทำให้ระยะเวลาในการผลิตลดลงไปได้

5. Control (การควบคุม) เป็นการตรวจสอบและติดตามว่ากับกระบวนการปรับปรุงที่สร้างขึ้นนี้ว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้จริง ปัญหาจะไม่ย้อนกลับมาเกิดอีก สร้างแผนป้องกันในกรณีที่ปัญหาอาจจะกลับมาเกิดขึ้นอีก 
ตัวอย่าง: ดำเนินการตามปกติกับกระบวนการปรับปรุงที่สร้างขึ้นมาใหม่และดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งพบว่าบริษัทสามารถผลิตรถยนต์ได้ 2,000 คันต่อวันด้วยประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

DMADV

1. Define (ระบุปัญหา) เป็นการระบุว่าลูกค้าต้องการอะไร กำหนดสิ่งที่จะทำให้เราแน่ใจว่าเราประสบผลสำเร็จได้อย่างไร
ตัวอย่าง: ลูกค้าต้องการรถยนต์ที่ประหยัดน้ำมันและมีความแรงเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้น

2. Measure (การวัด) ออกแบบการวัดโดยใช้ความต้องการของลูกค้าเป็นหลักโดยรวบรวมข้อมูลจากรอบด้าน ประเมินศักยภาพของอุตสาหกรรมทั้งด้านการผลิตและการแข่งขัน
ตัวอย่าง:ต้องมุ่นเน้นไปที่การพัฒนาเครื่องยนต์เนื่องใช้น้ำมันเยอะที่สุด

3. Analyze (การวิเคราะห์หาปัญหา) วิเคราะห์ว่าสิ่งที่จะทำขึ้นมานั้นตอบโจทย์ลูกค้าหรือไม่ วิเคราะห์ถึงเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ วิเคราะห์ถึงความเสี่ยงต่างๆ
ตัวอย่าง: เราจะออกแบบรถยนต์โดยเปลี่ยนเป็นรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้า

4. Design (การออกแบบ) ขึ้นตอนการออกแบบนี้จะใช้ข้อมูลจากขั้นตอน Analyze มาเป็นปัจจัยในการออกแบบ สามารถใช้เทคนิคการระดมสมอง ออกแบบการทดลอง การวิจัย สร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ รวมถึงทดสอบแบบจำลองที่สร้างไว้และปรับให้ได้ตามความต้องการ
ตัวอย่าง: เริ่มทำรถยนต์ต้นแบบขึ้นมาแล้วดูผลตอบลัพธ์จากลูกค้าว่าลูกค้าประทับใจหรือไม่

4. Verify (ตรวจสอบ) ตรวจสอบกระบวนการที่สร้างขึ้นมาใหม่ ตรวจสอบว่าตรงตามความต้องการของลูกค้าหรือไม่ รวบรวมความคิดเห็นของลูกค้าไปลูกการพัฒนาสินค้าใหม่ๆในอนาคต
ตัวอย่าง: ดูผลตอบลัพธ์จากลูกค้าจากงานแสดงสินค้า เว็บต่างๆ ยอดขายที่ขายได้

     Six Sigma เป็นสิ่งที่ช่วยวางแผนการทำงานให้กับองค์กรได้เป็นอย่างดี ทำให้องค์กรมีการปรับปรุงและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ช่วยลดข้อผิดพลาดต่างๆให้น้อยลง ช่วยลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน สร้างความพึ่งพอใจให้กับลูกค้าให้มากขึ้น ซึ่งส่งผลให้องค์กรเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จ

ป้ายกำกับ

แสดงเพิ่มเติม

บทความยอดนิยม

Software Development Life Cycle (SDLC) คืออะไร ทำไมจำเป็นต่อการพัฒนาซอฟต์แวร์

Automation testing หรือ การทดสอบซอฟต์แวร์อัตโนมัติ คืออะไร ทำไมถึงสำคัญต่อการทดสอบซอฟต์แวร์

ม.ปลายอยากเข้าสายคอม วิทยาการคอม วิศวกรรมคอม เตรียมตัวอย่างไร ต้องมีพื้นฐานอะไรบ้าง

วิธีเก็บ วิเคราะห์ รวบรวม requirement อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

Performance Test คือ อะไร วัดประสิทธิภาพของระบบ ล่มไม่ล่ม จะรู้ได้อย่างไร

8 สิ่งที่ AI จะมาเปลี่ยนโลกในอนาคต

ถอดรหัสความลับเครื่อง Enigma จุดเริ่มต้นและจุดจบของสงครามโลกครั้งที่ 2