ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่จากทั่วโลก

อินเทอร์เน็ต(Interconnection Network) เป็นการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครือข่ายผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้เครือข่ายจากหลายๆที่เชื่อมโยงกัน เกิดเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่เชื่อมโยงจากข้อมูลจากทั่วโลกเข้าด้วยกัน บริการของอินเทอร์เน็ตยอดนิยมคือ WWW(Wold Wide Web) เป็นการส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งผ่านระบบอินเทอร์เน็ตภายใต้การเชื่อมต่อโปรโตคอล(Protocal)เดียวกันเช่น เสียง ข้อความ รูปภาพ เป็นต้น

ประวัติความเป็นมาอินเทอร์เน็ต

     อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นช่วงสงครามเย็นปี ค.ศ. 1960 โดยหน่วยงานวิจัยของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาใช้ชื่อโครงการว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ได้คิดค้นและสร้างการสื่อสารข้อมูลแบบเครือข่ายขึ้นมาให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อกันได้เป็นเครือข่าย เพื่อป้องกันการโจมตีระบบสื่อจาก แต่ก่อนจะมีศูนย์รวมอยู่จุดเดียว หากมีการโจมตีเกิดขึ้นการสื่อสารทั้งหมดจะหยุดชะงัก แต่หากมีอินเทอร์เน็ตแล้วข้อมูลต่างๆจะถูกกระจายกันออกไปทำให้ป้องกันความล้มเหลวของเครือข่ายได้ โดยเริ่มจากการเชื่อมต่อจากเครือข่ายต้นแบบ ARPANET ทำหน้าที่เป็นเครื่องหลักในการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่าย ช่วงแรกการเชื่อมต่อได้ถูกนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ของสถาบันการศึกษาต่างๆในสหรัฐอเมริกา สร้างเป็นเครือข่ายให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกันได้ ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆได้ เมื่อการเชื่อมต่อประสบผลสำเร็จก็เริ่มขยายเครือข่ายออกไปเรื่อยๆ จนเกิดเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ของโลก

การทำงานของอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น

     เริ่มจากโดยทั่วไปแล้วผู้ใช้งานจะใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต(Internet service provider:ISP) จากนั้นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะเชื่อมต่อเส้นทางอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลก ทำให้สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ต่างๆได้ ในระบบอินเทอร์เน็ตจะมี Server ต่างๆมากมาย ทำหน้าที่เก็บข้อมูลเว็บไซต์ต่างๆเช่น เว็บไซต์ A ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ที่ Server A หากเราเปลี่ยนไปเข้าเว็บไซต์ B การเชื่อมต่อจะถูกส่งไปยัง Server B 

Protocal โปรโตคอลคืออะไร

     โปรโตคอลคือมาตรฐานในการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ เป็นเหมือนภาษากลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ โปรโตคอลจะกำหนดวิธีการ กฎต่างๆในการสื่อสาร เพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ ตัวอย่างโปรโตคอลที่เราใช้สื่อสารทุกวันนี้

1.Protocol HTTP/HTTPS คือโปรโตคอลที่น่าจะคุ้นเคยและใช้งานบ่อยที่สุด เพราะเป็นโปรโตคอลที่ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์ต่างๆเช่น https://www.google.com, https://www.youtube.com โดยการใช้ผ่านเว็บไซต์จะถูกใช้งานผ่าน Web Browser ต่างๆเช่น Google Chrome, Firefox, Microsoft Edge เป็นต้น
2. Protocol TCP/IP เป็นโปรโตคอลใช้ในการสื่อสารข้อมูลจากเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่งโดยการกระจายข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย
3. Protocol SMTP หรือ Simple Mail เป็นมาตรฐานโปรโตคอลในการรับส่ง Email บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
4. Protocol POP3(Post Office Protocol version 3) เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการรับ Email การทำงานของโปรโตคอลนี้จะทำหน้าดึง Email จาก Mail Server มายังที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา Email จะถูกเก็บไว้ในเครื่องของเราเอง ทำให้เราสามารถอ่าน Email ได้แม้จะไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
5. Protocol IMAP เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการรับ Email เช่นกันแต่จะเน้นการทำงานแบบ Online คือต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตถึงจะอ่าน Email ได้
6. Protocol FTP เป็นโปรโตคอลถ่ายโอนข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เราเองไปยังเครื่อง Server
7. Protocol SSL(Secure Socket Layer) เป็นโปรโตคอลที่นิยมใช้ปกป้องข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่ต้องการความปลอดภัยสูง ข้อมูลจะถูกเข้ารหัส บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้
8. Protocol SNMP(Simple Network Management Protocol) เป็นโปรโตคอลที่ใช้จัดการเครือข่ายเพราะในเครือข่ายขนาดใหญ่อาจะมีความซับซ้อน มีอุปกรณ์หลายๆตัวบนเครือข่าย โปรโตคอลนี้สามารถจัดการอุปกรณ์ต่างๆได้ สามารถแก้ไขข้อมูล

WWW

     หากพูดถึงอินเทอร์เน็ตก็มักจะนึกถึง WWW เราจะพิมพ์เพื่อเข้าถึงเว็บไซต์ต่างๆที่ให้บริการค้นหาข้อมูล ข้อความ VDO และเสียง ที่จริงแล้วในการสื่อสารของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต้องมีเลขเหมือนรหัสประจำตัวที่ไม่ซ้ำกันเพื่อจะระบุได้ว่าจะรับส่งข้อมูลไปเครื่องไหนซึ่งรหัสนี้เราจะเรียกว่า IP Address แต่เนื่องว่ารหัสเหล่านี้ยาวและจดจำยาก จึงมีการใช้มาตรฐาน Domain Name System(DNS)เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารยังเว็บไซต์ต่างๆ องค์ประกอบของ WWW มีดังนี้

protocol://domain.TLD

Protocol แบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกันคือ HTTP และ HTTPS
    • HTTP(Hypertext Transfer Protocol) เป็นโปรโตคอลที่อนุญาตให้คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตได้ เมื่อใช้เว็บเบราว์เซอร์คำส่งคำ HTTP การติดต่อสื่อสารจะถูกใช้งานภายใต้โปรโตคอล HTTP ทั้งหมด แต่การสื่อสารบนโปรโตคอลชนิดนี้จะอยู่ในรูปแบบ plain text คือไม่มีการเข้ารหัสข้อมูลที่ส่งไปมาระหว่างคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานและเครื่อง Server
    • HTTPS(Hypertext Transfer Protocol Secure) คือการสร้างความเป็นส่วนตัวบนระบบอินเทอร์เน็ต การทำงานของโปรโตคอลชนิดนี้จะคล้ายกับ HTTP แต่ข้อมูลที่รับส่งไปมาระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับ Server จะถูกเข้ารหัสไว้ หากมี การโจมตีโดย Hacker ก็จะไม่สามารถถอดรหัสข้อความได้ โปรโตคอลเหมาะกับข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมต่างๆเช่น ข้อมูลธนาคาร บัตรเครดิต เป็นต้น
Domain คือชื่อเว็บไซต์ที่ง่ายต่อการจดจำแทน IP Address เช่น www.google.com ส่วนของ Domain ก็คือ google สำหรับชื่อ Domain Name นั้นจะถูกควบคุมโดย Internet Corporation for Assigned and Number(ICANN) หากต้องการสร้าง Domain ขึ้นมาก็ต้องไปจดทะเบียนกับ ICANN เพื่อประกันว่า Domain นั้นถูกต้องสามารถใช้ได้จริง

TLD(Top Level Domain Name) เป็นส่วนที่อยู่ขวาสุดของโดเมนที่ใช้บอกว่าโดเมนนั้นเป็นประเภทไหน
    • .com สำหรับบริษัทเอกชน
    • .net สำหรับองค์กรที่ทำหน้าที่ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
    • .org สำหรับองค์กรหรือสมาคมต่างๆ
    • .gov สำหรับหน่วยงานรัฐบาล
    • .edu สำหรับสถาบันการศึกษา
    • .info สำหรับองค์กรที่ให้ข้อมูลทั่วไป
    • .mil สำหรับหน่วยงานทางทหารของสหรัฐอเมริกา

บริการบนอินเทอร์เน็ต

     อินเทอร์เน็ตถือเป็นสิ่งที่เราขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน เพราะเราต้องใช้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ใช้ในการทำงาน ใช้ติดต่อสื่อสาร เป็นต้น การให้บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ตสามารถแยกได้ดังนี้

1. Communication Services เราสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสารเช่น Email, Message หรือการสื่อสารด้วยข้อความผ่าน Application ต่างๆเช่น Facebook Messenger, WhatApp, Line, Slack เป็นต้น
2. Information and Content คือการให้บริการให้ข้อมูลความรู้ทั่วไป เว็บไซต์ที่ที่สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ต่างๆได้เช่น Google, บทความ, ข่าว, E-Learning, วารสารวิชาการ เป็นต้น
3. E-commerce and Online Shopping เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการซื้อขายออนไลน์ บริการชำระเงินออนไลน์รวมถึงจัดส่งอาหารด้วยเช่น Lazada, Shopee,Amazon,eBay, PayPal เป็นต้น
4. Financial Services คือเว็บไซต์ที่ให้บริการด้านการเงิน การเข้าถึงบัญชีธนาคาร การโอนเงิน จ่ายเงิน จ่ายบิลต่างๆผ่านบริการออนไลน์ นอกจากนั้นยังรวมไปถึง Application ที่ให้บริการด้านการเงินการลงทุนการซื้อขายสินทรัพย์ต่างๆ
5. Entertainment and Media Streaming เป็นบริการด้านความบันเทิง ภาพยนต์ รายการทีวี สารคดี เพลง เช่น Netfix, Disney+, Spotify, Apple Music เป็นต้น
6. Travel Services การให้บริการด้านการเดินทาง จองเที่ยวบิน ที่พัก บริการเช่า และการท่องเที่ยวเช่น Agoda, Booking, Airban, Expedia,Grab เป็นต้น
7. Health and Telemedicine Services คือการให้บริการให้สามารถเข้าถึงทางการแพทย์โดยใช้เทคโนโลยี การให้คำปรึกษาด้านสุขภาพผ่านระบบออนไลน์ การวินิจฉัยเบื้องต้น
8. Cloud Computing คือบริการ Cloud ต่างๆเช่นพื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์อย่าง Google Drive, Dropbox หรือเป็น Application ที่ใช้ในการจัดการเอกสารแบบออนไลน์เช่น Microsoft Office 365, Google Workspace เป็นต้น

ป้ายกำกับ

แสดงเพิ่มเติม

บทความยอดนิยม

Software Development Life Cycle (SDLC) คืออะไร ทำไมจำเป็นต่อการพัฒนาซอฟต์แวร์

ม.ปลายอยากเข้าสายคอม วิทยาการคอม วิศวกรรมคอม เตรียมตัวอย่างไร ต้องมีพื้นฐานอะไรบ้าง

Automation testing หรือ การทดสอบซอฟต์แวร์อัตโนมัติ คืออะไร ทำไมถึงสำคัญต่อการทดสอบซอฟต์แวร์

วิธีเก็บ วิเคราะห์ รวบรวม requirement อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

Performance Test คือ อะไร วัดประสิทธิภาพของระบบ ล่มไม่ล่ม จะรู้ได้อย่างไร

8 สิ่งที่ AI จะมาเปลี่ยนโลกในอนาคต

ถอดรหัสความลับเครื่อง Enigma จุดเริ่มต้นและจุดจบของสงครามโลกครั้งที่ 2