พื้นฐานองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานตามชุดคำสั่ง โดยจะรับข้อมูลมาประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ การที่คอมพิวเตอร์จะทำงานได้นั้นประกอบไปด้วยหลายหลายองค์ประกอบด้วยกัน แต่จะส่วนจะมีหน้าที่การทำงานต่างกันเพื่อช่วยในการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพ คอมพิวเตอร์อาศัยส่วนประกอบดังต่อไปนี้ทำงานแบบมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันเพื่อแสดงผลลัพธ์ออกมา

1. ฮาร์ดแวร์(Hardware) คือส่วนประกอบทางกายภาพของคอมพิวเตอร์ที่สามารถจับต้องได้

   a. หน่วยรับข้อมูลนำเข้า(Input /Device) เป็นอุปกรณ์ที่นำเข้าชุดคำสั่งเข้ามายังระบบเพื่อส่งไปยังหน่วยประมวลผลต่อไป
    • คีย์บอร์ด(Keyboard)
    • เมาส์(Mouse)
    • จอยสติ๊ก(Joystick)
    • Scanner
   b. หน่วยประมวลผล(Processing) คือส่วนที่เปรียบเหมือนสมองของคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลนำเข้า ทุกๆการกระทำต้องต้องผ่านการประมวลผล ในการประมวลผลสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนประกอบดังนี้
    • ซีพียู(CPU-Central Processing Unit) ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล คำนวณการทำงานและควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ หน่วยความเร็วในการทำงานของซีพียูคือ “เฮิร์ท”(Hz) ยิ่งมีเฮิร์ทสูงๆการทำงานของซีพียูก็ยิ่งเร็วเช่น 2.4 GHz, 3.2 GHz, 4.5 GHz เป็นต้น
    • หน่วยความจำหลัก(Main Memory) เป็นหน่วยความจำภายในสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภทคือ
      • ROM(Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำถาวรโดยการเขียนโปรแกรมเข้าไปใน Chip แล้วเรียกข้อมูลออกมาใช้งาน โปรแกรมที่ถูกเขียนไปนั้นจะไม่สามารถแก้ไขหรือเขียนเพิ่มเติมได้ถึงแม้ไม่มีกระแสไฟฟ้า ข้อมูลต่างๆก็จะไม่สูญหาย
      • RAM(Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำชั่วคราวของคอมพิวเตอร์ จะเก็บข้อมูลได้ก็เมื่อมีกระแสไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงหากไม่มีกระแสไฟฟ้าข้อมูลใน RAM ก็จะหายไป ข้อมูลใน RAM อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ยิ่งเป็นโปรแกรมที่มีความซับซ้อนก็ยิ่งใช้ RAM มากเช่นเกมที่มีกราฟิกสูงๆ โปรแกรมตัดต่อ VDO เป็นต้น ดังนั้น RAM จึงเป็นอุปกรณ์ที่ส่งผลต่อความเร็วในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ มีหน่วยเป็น เมกะไบต์ -Megabyte(MB) หรือ กิกะไบต์(GB) – Gigabyte (1024MB = 1GB) เช่น 8GB, 16GB, 64GB เป็นต้น

   c. หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง(Secondary Storage Device) เนื่องจากหน่วยความจำหลักมีไม่เพียงพอต่อการเก็บข้อมูลและข้อมูลยังหายไปเมื่อไม่มีไฟฟ้า จึงต้องมีอุปกรณ์จัดเก็บเพิ่มเติมเพื่อบันทึกข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ การทำงานหน่วยความจำหนักและหน่วยความจำรองจะทำงานเชื่อมกันเช่น หากผู้ใช้งานมีการทำงานอยู่ส่วนนี้จะเรียกใช้หน่วยความจำหลัก แต่หากผู้ใช้งานต้องการบันทึกข้อมูลเก็บไว้ ข้อมูลจากหน่วยความจำหลักจะถูกบันทึกยังหน่วยความจำรอง ในการเรียกใช้ข้อมูลนั้น หากเรียกใช้ข้อมูลจากหน่วยความสำหลักจะเร็วกว่าความจำรองเพราะทำงานบนกระแสไฟฟ้า แต่หากเรียกข้อมูลจากหน่วยความจำรองต้องผ่านอุปกรณ์ต่างๆเช่น ฮาร์ดดิสก์(hard disk), Flash Drive, CDเป็นต้น ซึ่งมีขั้นตอนการประมวลผลที่มากกว่าจึงช้ากว่า แต่ข้อมูลต่างๆที่ถูกบันทึกว่าจะถูกจัดเก็บแบบถาวรทำให้ข้อมูลไม่สูญหาย สามารถเรียกใช้ข้อมูลเมื่อไหร่ก็ได้ ตัวอย่างการใช้งานที่เห็นได้ชัดที่สุดคือการบันทึกไฟล์งานต่างๆเช่น Word, PowerPoint, ภาพตัดต่อ, ไฟล์โปรแกรมต่างๆ

   d. หน่วยแสดงผล(Output Device) ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วให้อยู่ในรูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้ง่ายผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เช่น
  • จอภาพ(Monitor)
  • เครื่องพิมพ์(Printer)
  • ลำโพง(Speaker)
  • หูฟัง
  • Projector

2. ซอฟต์แวร์(Software) คือโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ผ่านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ โดยสามารถแบ่งประเภทของซอฟต์แวร์ได้ดังนี้

  • System software คือซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ ตั้งแต่การอ่านข้อมูลนำเข้าไปยังการแสดงผล โดยส่วนใหญ่แล้ว System software จะถูกติดตั้งลงในคอมพิวเตอร์ในช่วงแรกก่อนซอฟต์แวร์ประเภทอื่นๆ ตัวอย่างโปรแกรมที่เรารู้จักเป็นอย่างดีเช่น ระบบปฏิบัติการ windows,Linux, macOS เป็นต้น
  • Application Software เป็นการสร้างซอฟต์แวร์มาเพื่อทำงานเฉพาะด้านตามความต้องการของผู้ใช้งาน โดยทั่วไป Application Software จะถูกติดตั้งหลังจากติดตั้ง System software แล้วเช่น เว็บเบราว์เซอร์ (Web Browsers),โปรแกรมบัญชี, Microsoft Word, Excel และ PowerPoint เป็นต้น
  • Utility Software เป็นโปรแกรมเพื่อทำงานพิเศษบางอย่างเช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส ฟอร์แมตดิสก์(formatting disk) เป็นต้น
  • Language Processors เป็นซอฟต์แวร์ใช้เพื่อการแปลภาษาหนึ่งเป็นภาษาต่างๆ รวมถึงยังสามารถตรวจสอบความผิดพลาดไวยากรณ์ของภาษาได้อีกด้วย
  • Utilities เป็นโปรแกรมอรรถประโยชน์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์เช่น โปรแกรมจัดการไฟล์ โปรแกรมจัดเรียงข้อมูลบนดิสก์

3. บุคลากร(People) เป็นบุคคลาที่จะมีการโต้ตอบกับระบบคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ป้อนคำสั่ง สั่งการคอมพิวเตอร์ เราสามารถแยกประเภทของบุคลากรได้ดังนี้

  • Programmers เป็นผู้เชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยสร้างโปรแกรมให้ผู้ใช้งาน(Users) สามารถโต้ตอบกับระบบคอมพิวเตอร์ได้ผ่านโปรแกรมที่ Programmers เขียนขึ้นมา โดยต้องมีความรู้ด้านเทคนิคและภาษาคอมพิวเตอร์
  • System Analyst เป็นคนออกแบบระบบประมวลผลข้อมูล และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการประมวลผลข้อมูล
  • Users คือผู้ใช้งานระบบคอมพิวเตอร์โดยจะเป็นผู้ที่โต้ตอบกับระบบคอมพิวเตอร์ผ่านโปรแกรมต่างๆที่ถูกสร้างขึ้น

4. ข้อมูลสารสนเทศ(Data Information) โดยทั่วไปแล้วข้อมูลนำเข้าที่ป้อนเข้ามาคอมพิวเตอร์จะนำไปประมวลผล ข้อมูลที่ถูกประมวลผลแล้วจะกลายเป็นข้อมูลสารสนเทศ(Data Information) ดังนั้นข้อมูลสารสนเทศจึงเป็นข้อมูลที่ผ่านการเก็บรวบรวม จัดกลุ่ม เรียบเรียงเพื่อเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์สามารถนำไปใช้ต่อยอดหรือตัดสินใจได้เช่น อายุเฉลี่ยของคนที่เข้ามาใช้บริการร้านอาหารแห่งหนึ่ง แนวโน้มการซื้อสินค้าชนิดหนึ่งในร้านสะดวกซื้อ แนวโน้มการซื้อสินค้าช่วงโปรโมชันของเว็บไซต์แห่งหนึ่ง คะแนนต่ำสุด-สูงสุดและคะแนนเฉลี่ยของวิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง

5. กระบวนการทำงาน(Procedure) เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ใช้งานจะเข้าใจและทราบการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ควรมีคู่มือหรือคำอธิบายการทำงานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์

ป้ายกำกับ

แสดงเพิ่มเติม

บทความยอดนิยม

Software Development Life Cycle (SDLC) คืออะไร ทำไมจำเป็นต่อการพัฒนาซอฟต์แวร์

Automation testing หรือ การทดสอบซอฟต์แวร์อัตโนมัติ คืออะไร ทำไมถึงสำคัญต่อการทดสอบซอฟต์แวร์

ม.ปลายอยากเข้าสายคอม วิทยาการคอม วิศวกรรมคอม เตรียมตัวอย่างไร ต้องมีพื้นฐานอะไรบ้าง

วิธีเก็บ วิเคราะห์ รวบรวม requirement อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

Performance Test คือ อะไร วัดประสิทธิภาพของระบบ ล่มไม่ล่ม จะรู้ได้อย่างไร

8 สิ่งที่ AI จะมาเปลี่ยนโลกในอนาคต

ถอดรหัสความลับเครื่อง Enigma จุดเริ่มต้นและจุดจบของสงครามโลกครั้งที่ 2