Low-code กับ No-code คืออะไร ในอนาคตไม่จำเป็นต้องเขียน Code จริงหรือ?

Low-code และ No-code เป็นเทคโนโลยีใหม่ในการเขียนโปรแกรม ที่มาที่ไปของ Low-code และ No-code นั้นเกิดจากปัญหาในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่ใช้เวลาค่อยข้างนานทำให้การนำซอฟต์แวร์สู่ตลาดได้ช้า การขาดแคลนโปรแกรมเมอร์ที่จะมาพัฒนาซอฟต์แวร์ จำนวนโปรแกรมเมอร์ที่น้อยและค่าจ้างที่สูง ดังนั้นจึงเกิดแนวคิด Low-code และ No-code คือนำเครื่องมือมาพัฒนาซอฟต์แวร์โดยเขียน Code ให้น้อยที่สุดหรือไม่เขียน Code เลย หากเปรียบกับการสร้างบ้านนั้นแต่ก่อนการสร้างบ้านก็จะต้องลงเสาเข็ม ก่ออิฐ ฉ​าบปูน เป็นต้นแต่ปัจจุบันเรามีหลายทางเลือกมากขึ้นเช่นทำผนังผนังฟรีแคสแล้วนำมาประกอบหรือเป็นบ้านน็อคดาวน์ยกมาตั้งเลย

Low-code VS No-code

ข้อแตกต่างของ Low-code และ No-code นั้นคือ Low-code ยังอาศัยโปรแกรมเมอร์เข้ามาแก้ไขปรับแต่ง Code จากเครื่องมือที่ใช้ตาม Requirement แต่ No-code นั้นออกแบบมาให้ทุกๆคนที่ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ก็สามารถสร้างซอฟต์แวร์ขึ้นมาได้ เพียงแค่เข้าใจว่าเครื่องมือที่จะสร้างซอฟต์แวร์นั้นทำงานอย่างไรก็สามารถสร้างซอฟต์แวร์ได้โดยไม่ต้องเขียน Code แม้แต่บรรทัดเดียว

โปรแกรมเมอร์จะตกงานไหมจาก Low-code และ No-code ไหม?

Low-code และ No-code นั้นเกิดมาจากโปรแกรมเมอร์ที่ขาดแคลน จึงมีเครื่องมือต่างๆอำนวยความสะดวกให้สามารถสร้างซอฟต์แวร์ต่างๆได้ง่ายขึ้น ซึ่งซอฟต์แวร์ที่สร้างมาจากเครื่องมือนั้นยังเป็นการใช้งานที่จำกัดอยู่เฉพาะด้านแต่ซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่หรือซอฟต์แวร์ที่มีความซับซ้อนมากๆซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในโลกนี้ ยังต้องการโปรแกรมเมอร์พัฒนาในส่วนนี้อยู่ 

ข้อดี ข้อเสีย ของ Low-code และ No-code

ข้อดี

  • ทำงานได้อย่างรวดเร็ว ลดระยะเวลาการออกแบบซอฟต์แวร์ได้โดยส่วนใหญ่แล้วเครื่องมือที่มีอยู่ใช้งานง่าย เพียงแค่ลากวางส่วนประกอบต่างๆที่เครื่องมือกำหนดไว้ก็จะได้โปรแกรมออกมา
  • ลดค่าใช้จ่าย เพราะสามารถออกแบบซอฟต์แวร์เองได้เลยโดยไม่ต้องจ้างหรือลดการจ้างโปรแกรมเมอร์ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงได้
  • รองรับการทำงานแบบคลาวด์ทำให้สามารถปรับแก้ไขอัปเดตได้ตลอดเวลา
  • ได้ซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพเพราะส่วนใหญ่แล้วเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างโปรแกรมนั้นจะมีคุณภาพที่ดีอยู่แล้ว
  • ปรับใช้งาน เปลี่ยนแปลงได้ง่าย เนื่องจาก Low-code และ No-code

ข้อเสีย

  • ไม่สามารถออกแบบโปรแกรมที่มีความซับซ้อนได้
  • มีค่าใช้จ่ายตามเครื่องมือต่างๆที่กำหนดไว้
  • Low-code และ No-code ยังไม่มีภาษาโปรแกรมกำหนดเป็นมาตรฐาน ดังนั้นหากต้องการแก้ไขหรือเขียน Code เพิ่มเติมไปก็ต้องเขียนภาษาโปรแกรมตามเครื่องมือที่เลือกใช้
  • ไม่สามารถควบคุม Security ของซอฟต์แวร์ได้ เพราะส่วนใหญ่เราต้องไปใช้เครื่องมือต่างๆในการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งระบบความปลอดภัยของซอฟต์แวร์ต่างๆเครื่องมือจะเป็นคนจัดการ เราไม่สามารถควบคุมได้เลย หากเครื่องมือมีช่องโหว่อาจะส่งผลต่อโปรแกรมที่เราสร้างขึ้นได้เช่นกัน

ตัวอย่างเครื่องมือ Low-code และ No-code ในท้องตลาด
  • Appian
  • Claris FileMaker
  • DWkit
  • Google AppSheet
  • Looker 7
  • Mendix
  • Microsoft PowerApps
  • OutSystems
  • Salesforce Lightning
  • Skyve Foundry
  • Temenos (formerly Kony)
  • AWS Honeycode
  • Visual scripting

ป้ายกำกับ

แสดงเพิ่มเติม

บทความยอดนิยม

Software Development Life Cycle (SDLC) คืออะไร ทำไมจำเป็นต่อการพัฒนาซอฟต์แวร์

Automation testing หรือ การทดสอบซอฟต์แวร์อัตโนมัติ คืออะไร ทำไมถึงสำคัญต่อการทดสอบซอฟต์แวร์

ม.ปลายอยากเข้าสายคอม วิทยาการคอม วิศวกรรมคอม เตรียมตัวอย่างไร ต้องมีพื้นฐานอะไรบ้าง

วิธีเก็บ วิเคราะห์ รวบรวม requirement อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

Performance Test คือ อะไร วัดประสิทธิภาพของระบบ ล่มไม่ล่ม จะรู้ได้อย่างไร

8 สิ่งที่ AI จะมาเปลี่ยนโลกในอนาคต

ถอดรหัสความลับเครื่อง Enigma จุดเริ่มต้นและจุดจบของสงครามโลกครั้งที่ 2