รู้จัก องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการ และข้อมูล

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

     ฮาร์ดแวร์ คือตัวเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใดๆที่จับต้องได้ เช่น จอแสดงภาพ(Monitor), ฮาร์ดดิสก์(Hard Disk) คีบอร์ด(Keyboard), เมาส์(Mouse), เครื่องปริ้น(Printer), CPU, RAM เป็นต้น ในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องอาศัยทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อให้โปรแกรมต่างๆสามารถใช้งานได้การใช้ฮาร์ดแวร์รุ่นใหม่ๆก็ย่อมมีโอกาสให้การงานซอฟต์แวร์นั้นเร็วขึ้น ส่วนประกอบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์มีดังนี้

1. หน่วยรับข้อมูล(Input Unit) ทำหน้าที่รับคำสั่งและข้อมูลเข้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ใดๆก็ตามที่ผู้ใช้งานป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์ เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ เครื่องสแกนเนอร์ ไมโครโฟน เครื่องอ่านบาร์โค้ด TouchPad ปากกาสัมผัสหน้าจอ เป็นต้น

2. หน่วยแสดงผลข้อมูล(Output Unit) คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลที่ได้จากหน่วยประมวลผล เช่น จอภาพ(Monitor) เครื่องพิมพ์(Printer) ลำโพงคอมพิวเตอร์ โปรเจคเตอร์(Projector) จอมอนิเตอร์(Monitor) เป็นต้น

3. หน่วยประมวลผลกลาง(Central Procession Unit หรือ CPU) ทำหน้าที่ประมวลผลคำสั่งจากข้อมูลที่รับเข้ามา เปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นจะมีชุดคำสั่งต่างๆมากมายให้โปรแกรมทำงานได้ตามที่ต้องการ ซึ่งการที่โปรแกรมจะทำงานได้นั้นต้องมีตัวสั่งการ ตัวควบคุมนั้นก็คือ CPU นั้นเอง กิจกรรมบนคอมพิวเตอร์ทุกกิจกรรมใช้ CPU ทั้งสิ้นตั้งแต่การกดเมาส์ การพิมพ์คีบอร์ด การเล่นเกม เป็นต้น ตัวที่บอกความเร็วของ CPU คือค่า GHz ยิ่งเยอะจะทำให้ CPU ยิ่งประมวลผลเร็ว

4. หน่วยความจำ(Memory) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บข้อมูลและชุดคำสั่งของคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลที่ถูกจัดเก็บในหน่วยความจำ นั้นจะถูกนำไปประมวลผลต่อไป ยกตัวอย่างสมมติว่าแม่ใช้เราให้ไปซื้อของ 2 อย่างคือ น้ำยาล้างจาน และผงซักฟอกที่เซเว่น เราก็คงไม่ต้องจดเพราะมีแค่ 2 อย่างอาศัยการจำก็จำได้แน่นอน แต่หากแม่มีรายการของที่จะสั่งซื้อซัก 10 อย่างเราก็คงจำไม่ได้แน่ๆก็ต้องจดใส่กระดาษ การทำงานของคอมพิวเตอร์ก็เช่นกันไม่ว่าจะเป็นการจำ หรือการจด ข้อมูลก็จะถูกจัดเก็บในหน่วยความจำ ซึ่งเราสามารถแยกหน่วยความจำได้เป็นอีก 2 ประเภทคือ

4.1 หน่วยความจำหลัก(Main Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลการทำงานของคอมพิวเตอร์เพื่อส่งต่อให้ CPU นำไปประมวลผลต่อไป ซึ่งสามารถแยกได้ออกเป็น 2 ประเภทคือ
  • RAM (แรม: Random Access Memory) RAM เป็นหน่วยความจำที่ต้องใช้ไฟฟ้าหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา หมายความว่าเมื่อไม่มีไฟฟ้าหน่วยความจำนี้ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งจะแตกต่างจาก Hard Disk ที่จะเป็นการบันทึกข้อมูลถาวร คือเมื่อปิดคอมพิวเตอร์แล้วเรายังสามารถเรียกข้อมูลนั้นกลับมาได้ สาเหตุที่ต้องมี RAM นั้นเพราะว่า การส่งข้อมูลโดยผ่านกระแสไฟฟ้าไปยัง CPU นั้นเป็นวิธีที่รวดเร็วที่สุด ยิ่ง RAM เยอะ ก็ยิ่งมีความจำที่จะจัดเก็บคำสั่งที่รอการประมวลผลเยอะขึ้น เช่นมีการเปิดโปรแกรมหรือทำงานหลายๆอย่างไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งหากมี RAM เยอะก็จะช่วยให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้น RAM มีหน่วยเป็น GB(Gigabyte) เช่น 4GB, 8GB, 16GB, 32GB ยิ่งมากยิ่งช่วยให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลเร็วขึ้น
  • ROM (รอม: Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่จัดเก็บข้อมูลเฉพาะเครื่อง เป็นการจัดเก็บข้อมูลที่ถูกตั้งค่ามาจากโรงงานแล้วเท่านั้น ข้อมูลที่จัดเก็บจะถูกจัดเก็บแบบถาวรและไม่สามารถเพิ่มข้อมูลอื่นๆลงไปได้ เมื่อปิดเครื่องหรือไฟดับเราสามารถเรียกข้อมูลนั้นขึ้นมาได้ ส่วนใหญ่แล้วหน่วยความจำชนิดนี้จะถูกนำไปให้ใน BIOS ของเครื่อง ซึ่งเป็นคำสั่งเริ่มต้นการทำงานของเครื่อง
4.2 หน่วยความจำรอง(Second Memory) เป็นหน่วยความจำที่มีการจัดเก็บข้อมูล การอ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น Hard Disk(HDD) เมื่อปิดคอมพิวเตอร์เรายังสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้ภายหลัง Hard Disk จะเก็บข้อมูลต่างๆของเครื่องเช่นระบบปฏิบัติการ(OS) โปรแกรม งาน ภาพ เพลง เป็นต้น ปัจจุบัน Hard Disk พัฒนาเป็น Solid State Drive(SSD) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้การทำงานรวดเร็วมากยิ่งขึ้น Hard Disk มีความจุคือ MB(Megabyte), GB(Gigabyte), TB(Terabyte) ลำดับจากน้อยไปมาก เช่น 1TB มีความจุมากกว่า 500GB ยิ่งความจุมากก็จะทำให้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลมากขึ้นตาม
     ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยความจำหลักและหน่วยความจำรองคือเมื่อเริ่มเปิดคอมพิวเตอร์ข้อมูลโปรแกรมต่างๆจะถูกเรียกจากหน่วยความจำรองเช่น Hard Disk และเมื่อมีการเรียกใช้โปรแกรม ข้อมูลจะถูกป้อนเข้าสู่หน่วยความจำหลักเพื่อส่งต่อให้ CPU ประมวลผลต่อไป


ซอฟต์แวร์ (Software)

     ซอฟต์แวร์คือโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ โปรแกรมนั้นถูกพัฒนาขึ้นมาโดยนักพัฒนาโปรแกรม (Programmer)โดยเขียนโปรแกรมจากภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) เช่น ภาษา C C# JAVA HTML Python เป็นต้น  ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) คือโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ โดยซอฟต์แวร์ระบบจะเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้งานกับฮาร์ดแวร์ ส่วนใหญ่แล้วซอฟต์แวร์ระบบจะถูกตั้งค่ามากับเครื่อง เป็นส่วนที่ใช้เริ่มต้นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
    1.1 OS (Operating system) เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์และโปรแกรมต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันต่างๆได้ นอกจากนั้น OS มีการนำไปใช้ในโทรศัพท์มือถือด้วย (Smart Phone) ปัจจุบัน OS ผู้พัฒนาหลายองค์กรทำให้มีหลาย OS เช่น Windows, Lnix Linux, DOS iOS และ Android เป็นต้น
    1.2 Utility Program เป็นโปรแกรมที่มาพร้อมกันระบบปฏิบัติการ ส่วนมากจะใช้บำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมถอนการติดตั้ง โปรแกรมจัดการไฟล์ โปรแกรม Firewall โปรแกรมบีบอัดไฟล์ เป็นต้น
    1.3 Device Drivers เป็นโปรแกรมที่ทำให้อุปกรณ์ของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สามารถเชื่อมต่อกันได้ ช่วยให้ผู้ใช้งานสั่งการผ่านคอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์ต่างๆได้ โดยอุปกรณ์ที่ต้องเรียกใช้งาน Driver เช่น Printer Scanner Sound เป็นต้น

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือโปรแกรมที่นักพัฒนาโปรแกรมเขียนขึ้นมาตามความต้องการของผู้ใช้งานเช่น โปรแกรมด้านบัญชี โปรแกรมจัดเก็บข้อมูล โปรแกรมแต่งรูป โปรแกรมนำเสนอข้อมูล เป็นต้น
2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน (Special Purpose Software) เป็นการเขียนซอฟต์แวร์ขึ้นมาใช้งานอย่างเฉพาะเจาะจงหรือตามความต้องการของลูกค้า หน่วยงาน หรือองค์กรใดๆ โดยทั่วไปแล้วซอฟต์แวร์แบบเฉพาะเจาะจงนี้ต้องอาศัยโปรแกรมเมอร์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญพัฒนาตัวซอฟต์แวร์ขึ้นมา ทำให้มีราคาที่สูงกว่าซอฟต์แวร์ทั่วๆไป เช่นโปรแกรมที่ใช้คำนวณทางวิทยาศาสตร์ โปรแกรมเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลทางบัญชี โปรแกรมตัดต่อ VDO โปรแกรมแต่งภาพ โปรแกรมสำหรับพัฒนา Web Site เป็นต้น
2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General Purpose Software) เป็นโปรแกรมที่ผู้พัฒนาออกแบบไว้สำหรับการใช้งานทั่วๆไปตามฟังก์ชันการทำงานของซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาใส่ไว้  ซึ่งผู้ใช้งานไม่สามารถปรับปรุงหรือแก้ไขโปรแกรมได้ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นโปรแกรมสำเร็จรูป

ตัวอย่างของ General Purpose Software ที่ถูกใช้งานโดยทั่วไป
  • Microsoft Suite: Office, Excel, Word, PowerPoint
  • Internet Browsers: Firefox, Chrome, Safari, Edge
  • Music Software: Spotify, Apple Music
  • Communication Software: Line, Zoom, Teams, Skype
Microsoft Office

ข้อมูลและสารสนเทศ (Data/Information)

     การนำเข้าข้อมูลเป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะคอมพิวเตอร์จะนำข้อมูล(Data) ไปสั่งการและประมวลผลผ่านกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล(Information)
  • Data เป็นข้อมูลที่นำเข้านั้นจะเป็นข้อเท็จจริง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือตัวเลขต่างๆที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล จัดเก็บอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำไปใช้งานต่อได้ เช่น ชื่อ อายุ การศึกษา คะแนนสอบ ราคาสินค้า รูปภาพ เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วข้อมูลจะถูกจัดเก็บอยู่ในฐานข้อมูล(Database)
  • Information เป็นข้อมูลผ่านการประมวลผลจากระบบคอมพิวเตอร์ เป็นการนำข้อมูลไปใช้ให้ประโยชน์ก่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ การศึกษา ข่าวสาร  เช่น เกรดเฉลี่ย สินค้าขายดี ข้อมูลเกี่ยวกับโรคระบาด ข้อมูลเครดิตสินเชื่อส่วนบุคคล เป็นต้น
กระบวนการทำงาน (Procedure)

     เป็นกระบวนการตรวจสอบการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้ตามผลลัพธ์ที่ต้องการ ซึ่งการที่ผู้ใช้งานจะทราบว่าคอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไร ถูกต้องหรือไม่ ควรมีชุดคำแนะนำ คู่มือผู้ใช้งาน(User Manual) ด้วย ใน Procedure นั้นจะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ Hardware Procedure และ Software Procedure เช่น
  • อธิบายส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าใจและใช้งานได้อย่างราบรื่น
  • ให้คำแนะนำวิธีการใช้งานของซอฟต์แวร์ต่างๆ
บุคลากร (People)

     เป็นบุคคลที่ใช้งานคอมพิวเตอร์แต่มีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไปโดยสามารถแยกได้ดังนี้
  • User ผู้ใช้งานระบบ โดยทั่วไปแล้วคอมพิวเตอร์ออกแบบให้กับผู้ใช้งานได้ใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรมต่างๆ ซึ่งผู้ใช้งานก็จะมีความรู้พื้นฐานในการใช้งานระบบหรือโปรแกรมนั้นๆ
  • Programmer เป็นผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นมา โดยคนที่จะพัฒนาได้ต้องมีความรู้ความสามารถด้านเทคนิคคอมพิวเตอร์และภาษาทางคอมพิวเตอร์(Programming)
  • System Analyst นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ เป็นคนที่ออกแบบประมวลผลคอมพิวเตอร์ รวมถึงแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น
  • Administrator ผู้ควบคุมระบบ เป็นคนที่ควบคุมและดูแลระบบ จัดสรรการใช้งานคอมพิวเตอร์ ดูแลรักษาและการเข้าถึงข้อมูล ให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้ตลอดเวลาและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ป้ายกำกับ

แสดงเพิ่มเติม

บทความยอดนิยม

Software Development Life Cycle (SDLC) คืออะไร ทำไมจำเป็นต่อการพัฒนาซอฟต์แวร์

Automation testing หรือ การทดสอบซอฟต์แวร์อัตโนมัติ คืออะไร ทำไมถึงสำคัญต่อการทดสอบซอฟต์แวร์

ม.ปลายอยากเข้าสายคอม วิทยาการคอม วิศวกรรมคอม เตรียมตัวอย่างไร ต้องมีพื้นฐานอะไรบ้าง

วิธีเก็บ วิเคราะห์ รวบรวม requirement อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

Performance Test คือ อะไร วัดประสิทธิภาพของระบบ ล่มไม่ล่ม จะรู้ได้อย่างไร

8 สิ่งที่ AI จะมาเปลี่ยนโลกในอนาคต

ถอดรหัสความลับเครื่อง Enigma จุดเริ่มต้นและจุดจบของสงครามโลกครั้งที่ 2