ชาร์จแบบเร่งด่วน (Quick Charger)
เป็นการชาร์จแบบกระแสตรง (DC Charging) หรือเป็นการชาร์จตรงไปยังแบตเตอรี่ของรถ สามารถชาร์จจาก 0% - 80% ในเวลาประมาณ 40-60 นาที ขึ้นอยู่กำลังไฟฟ้า(วัตต์) ของตู้ชาร์จ เราจะพบการชาร์จแบบนี้ได้ตาม EV Station การที่แต่ละ EV Station จะชาร์จช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับกำลังวัตต์ของสถานีนั้นๆ ยิ่งกำลังวัตต์มากจะยิ่งชาร์จเร็ว เช่น EV Station A มีกำลังไฟฟ้าอยู่ที่ 50 kW เวลา 20 นาทีอาจชาร์จได้ 20% EV Station B มีกำลังไฟฟ้าอยู่ที่ 120 kW เวลา 20 นาทีอาจชาร์จได้ 60% โดยทั่วไปแล้วในรถยนต์ไฟฟ้าเวลาชาร์จตาม EV Station ไม่จำเป็นต้องชาร์จเต็ม 100% ก็ได้เพราะยิ่งใกล้เต็มจะยิ่งใช้เวลานาน ปัจจุบันการคิดค่าชาร์จของ EV Station ค่อนข้างมีความซับซ้อนเพราะยังไม่มีราคากลางเหมือนอย่างน้ำมัน ค่าชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแล้วขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการแต่ละราย ช่วงเวลาที่ชาร์จเช่น กลางคืนจะถูกกว่าตอนกลางวัน เป็นต้น
การคำนวณระยะเวลาในการชาร์จแบบเร่งด่วน
ในการคำนวณนั้นจะใช้ 2 ค่าในการคำนวณคือ กำลังวัตต์ของ EV Station(kW) และขนาดของแบตเตอรี่(kWh) เช่น
ขนาดของแบตเตอรี่ = 50kWh
กำลังวัตต์ของ EV Station = 100kW
ดังนั้น ระยะเวลาในการชาร์จ = 0.5h(30 นาที)
30 นาทีคือการชาร์จแบบประสิทธิภาพสูงสุด แต่หากเราอยู่บนรถติดเครื่องอยู่ระยะเวลาจะเพิ่มไปอีกประมาณ 20% หรือ 42 นาที
สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
ชาร์จแบบรวดเร็ว (Double Speed Charge)
เป็นการชาร์จแบบกระแสสลับ (AC Charging) ใช้เวลาชาร์จประมาณ 6-8 ชั่วโมง ในการชาร์จแบบ AC กระแสไฟฟ้าที่ส่งจากเต้ารับจะส่งไฟฟ้าไปรับ On-board Charger ที่อยู่ภายในตัวรถซึ่งมันจะทำหน้าที่แปลงไฟ AC เป็นไฟ DC ด้วยกำลังไฟฟ้าที่ไม่มากและต้องมีการแปลงไฟ DC ทำให้การชาร์จแบบ AC จะช้าว่าการชาร์จโดยไฟ DC นั่นเอง
ชาร์จแบบธรรมดา (Normal Charge)
เป็นการชาร์จแบบกระแสสลับ (AC Charging) ภายในบ้านทำให้ใช้เวลาชาร์จนานกว่าแบบอื่นๆคือประมาณ 12-16 ชั่วโมง แต่การจะชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านได้นั้นต้องรู้เฟส(Phase) ไฟฟ้าที่บ้านก่อนเพราะโดยทั่วไปแล้วการไฟฟ้าจะติดตั้งแบบ 1 เฟส(Single-Phase 5(15)A หรือ Single-Phase 15(45)A) ให้ซึ่งเพียงพอต่อการใช้ไฟฟ้าทั่วไปเช่น หลอดไฟ พัดลม โทรทัศน์ เตารีด เครื่องซักผ้า เป็นต้น แต่ไม่เพียงพอต่อการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หากต้องการติดตั้ง EV Charger ควรเพิ่มเป็นแบบ 3 เฟส(Single-Phase 30(100)A หรือ 3-Phase 15(45)A) ซึ่งหากต้องการขยายเฟสไฟฟ้าเพิ่มสามารถติดต่อการไฟฟ้าเพื่อขอเพิ่มกำลังไฟฟ้าได้ เราสามารถตรวจสอบได้ว่าบ้านเราใช้ไฟฟ้าเฟสไหนจากมิเตอร์ไฟฟ้า โดยอ่านจากค่า Type จากตัวอย่างระบุว่า 5(15) แสดงว่าบ้านนี้ใช้ไฟฟ้า 1 เฟส
มิเตอร์ไฟฟ้าบอกว่าใช้ไฟ 1 เฟส |