เรียน ป.โท วิศวะ ต้องเตรียมตัวอย่างไร ต้องเจออะไรบ้างตั้งแต่เริ่มจนจบ


     บทความนี้จะเป็นการอธิบายถึงคนที่กำลังสนใจเรียน ป.โท ตั้งแต่ก่อนเข้าเรียน ระหว่างเรียน เพื่อให้เห็นว่าตลอดเวลาที่เรียนนั้นจะต้องพบอะไรบ้างเพื่อจะได้เตรียมตัวเข้าเรียนอย่างราบรื่นโดยเฉพาะในสายวิศวกรรมศาสตร์ที่จะมีระดับความเข้มข้นของการเรียนและงานวิจัยค่อนข้างสูง

เตรียมตัวสอบเข้า 

     โดยทั่วไปแล้วแทบทุกมหาวิทยาลัยจะจัดให้มีการสอบวัดผลก่อนเข้าเรียนโดยผลที่ทางมหาวิทยาลัยใช้พิจารณาแล้วจะประกอบไปด้วย 3 อย่างด้วยกันคือ
  • ภาษาอังกฤษ หลายๆมหาวิทยาลัยนั้นจำเป็นต้องมีผลสอบตามเกณฑ์ก่อนเข้าเรียน เช่น จุฬา จะใช้ผล CU-TEP ธรรมศาสตร์จะใช้ผล TU-GET และแต่ละคณะกำหนดเกณฑ์ขึ้นมาว่าแต่ละคณะจะใช้ผลคะแนนเท่าไหร่ ซึ่งหากคณะไหนจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษมากหรือเป็นหลักสูตรนานาชาติก็จะใช้ผลสอบภาษาอังกฤษมากขึ้นตาม ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยอื่นๆก็มักจะใช้ผลสอบ toeic, toefl, ielts เป็นเกณฑ์ในการรับเข้าเรียนเช่นกัน ดังนั้นใครวางแผนจะเรียน ป.โท แล้วสามารถเตรียมตัวเรียนภาษาได้ก่อนเลย
  • ผลสอบข้อเขียน บางคณะจะมีการจัดสอบข้อเขียนเพื่อนประเมินเราก่อนเข้าเรียนว่าเรามีความรู้พื้นฐานเพียงพอที่จะสามารถเรียนได้หรือไม่ ข้อเขียนของ ป.โท นั้นไม่ได้ยากหรือแข่งขันกันมากเหมือนกับ ป.ตรี เพราะจะไปเจอความยากในส่วนอื่นแทน ส่วนใหญ่จะวัดเฉพาะความรู้พื้นฐาน ว่าเรามีความรู้พื้นฐานเพียงพอในสาขาวิชาที่เราจะเรียนหรือไม่ บางมหาวิทยาลัยหรือบางคณะก็ไม่มีการจัดสอบข้อเขียนอาจจะมีสัมภาษณ์เพียงอย่างเดียว
  • สัมภาษณ์ ส่วนนี้ก็เป็นส่วนสำคัญเหมือนกันการสัมภาษณ์เข้าเรียน ป.โท นั้นก็จะคล้ายๆกับการสัมภาษณ์งานเลย ส่วนใหญ่มักจะถามว่าทำอะไรมา เรียนไปจะเอาไปทำอะไร มีเวลาเรียนไหม ใครเป็นคน support ด้านการเรียนบ้าง หรือมีงานวิจัยอะไรที่เคยทำมาบ้างและอยากทำงานวิจัยอะไรต่อ ผลจากการสัมภาษณ์นั้นก็สำคัญเพราะอาจจะทำให้เราติดหรือไม่ติดเลยก็ได้ ถามตัวเองก่อนว่าทำไมถึงอยากเรียน เรียนไปแล้วจะเอาความรู้ไปใช้อย่างไรบ้าง และพร้อมสำหรับการเรียนมากน้อยแค่ไหนทั้งเงินและเวลา

เริ่มสู่การเรียน

     หลังจากผ่านกระบวนการรับเข้าศึกษาแล้วต่อไปก็จะเริ่มสู่การเรียน บรรยากาศการเรียนของ ป.โท นั้นจะแตกต่างกับการเรียน ป.ตรี เนื่องจากส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงานแล้วอาจจะไม่คึกคักเท่า ป.ตรี แต่ละคนดูตั้งใจเรียนคงเพราะแต่ละคนคงตั้งใจมาเก็บความรู้ ระดับความยากของวิชาเรียนนั้นถ้าเป็นสายวิศวนั้นก็เข้มข้นเช่นกันไม่ต่างจาก ป.ตรี หรือยากกว่า แต่การให้เกรดนั้นดูเหมือน ป.โท นั้นจะง่ายกว่าป.ตรี อาจเพราะส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงานแล้ว มีประสบการณ์ระดับหนึ่งแล้ว และผ่านการคัดของแต่ละมหาวิทยาลัยมาก่อน ทำให้กรองคนที่สนใจ ตั้งใจที่จะเรียนจริงเลยอาจทำให้ผลคะแนนต่างๆดีตาม ปกติแล้ว ป.โท เกรด B คือมาตรฐานคือไม่ถือว่าดีหรือแย่ หากต่ำกว่า B นั้นคือถือว่าแย่แล้ว 
    ถึงจะเรียน ป.โท แต่ก็หนีไม่พ้นงานกลุ่ม นอกจากการบ้านแล้วงานกลุ่มก็ยังมีด้วยเช่นกัน หลายๆวิชายังต้องทำงานกลุ่ม อาจจะเป็นเพราะอยากให้นิสิต นักศึกษาแต่ละคนรู้จักกันมากขึ้นด้วย แต่งานกลุ่มในสายวิศวนั้นก็คงไม่เข้มข้นเท่ากับสายบริหารธุรกิจที่ต้องทำงานกลุ่มกันจริงจังมาก ความยากของการทำงานกลุ่มโดยเฉพาะคนที่เรียนภาคนอกเวลาราชการคือ ต้องหาเวลาทำงานกลุ่ม ซึ่งเวลาที่จะต้องทำงานคือเวลากลางคืนที่ต้องนัด Call กันหรือวันหยุดอื่นๆ ดังนั้นใครคิดจะเรียนต้องเผื่อเวลาตรงนี้ไว้ด้วย ส่วนจะใช้เวลาเยอะมากน้อยแค่ไหนคงขึ้นกับมหาวิทยาลัย คณะ และเทอมที่เรียนด้วย แต่น่าจะใช้เวลาประมาณ 3-5 วันต่อสัปดาห์สำหรับทำงานกลุ่ม ในช่วงปีแรกนั้นจะเรียนหนักหน่อยทั้งงานเดี่ยว งานกลุ่ม และการเตรียมตัวเพื่ออ่านหนังสือสอบ
     ใน ป.โท นั้นก็ได้เพื่อนเยอะเหมือนกันเพราะจะสนิทกันตอนเรียนและตอนทำงานกลุ่ม จะได้รู้จักเพื่อนในสายงานเดียวกับเราแต่จะมาจากหลากหลายบริษัทอาจได้พึ่งพากันเรื่องงานในอนาคตได้

วิทยานิพนธ์ (Thesis)

     วิทยานิพนธ์เป็นรายงานการการศึกษาค้นคว้าของงานวิจัยโดยสามารถนำองค์ความรู้จากรายวิชาที่ได้เรียนไปมาประยุกต์เพื่อก่อให้เกิดเป็นผลงานใหม่ๆให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ต่อไป 
     ด่านนี้เป็นด่านที่สำคัญและยากที่สุดสำหรับคนเรียน ป.โท โดยเฉพาะสายวิศวเพราะมหาวิทยาลัยจะคาดหวังกับวิทยานิพนธ์ของเราค่อนข้างสูง สูงว่า project จบที่ทำตอน ป.ตรีหลายเท่าเลยและ 30-50% ของคนที่ไม่จบ ป.โท เพราะทำวิทยานิพนธ์ต่อไม่ไหว ซึ่งการจะทำให้วิทยานิพนธ์ให้ผ่านได้ง่ายประกอบด้วยปัจจัยดังนี้


1. ค้นหาหัวข้องานวิจัยให้เจอ

มักเป็นปัญหาของหลายๆคนที่เรียนมักจะคิดว่า แล้วจะทำหัวข้องานวิจัยอะไรดี? ในระหว่างที่เรากำลังเรียนในรายวิชาต่างๆนั้น อยากให้หมั่นสังเกตและตั้งคำถามว่ามีโอกาสที่จะประยุกต์ ต่อยอด ในทฤษฎีนั้นๆกับงานวัจัยได้หรือเปล่า หรือแนะนำให้อ่าน paper มากๆโดยเฉพาะในเรื่องที่เรากำลังสนใจ เพราะในส่วนของ Conduction ของ Paper มันจะสรุปถึงข้อจำกัดและแนวทางในการพัฒนาต่อ ทำให้เราสามารถที่จะนำมาเป็นข้อมูลคิดวิทยานิพนธ์เราได้

2. อาจารย์ที่ปรึกษานั้นสำคัญขนาดไหน

อาจารย์ที่ปรึกษาก็เป็นปัจจัยสำคัญมากเช่นกันเพราะเป็นตัวแปรหนึ่งที่ทำให้เราจบ ไม่จบ หรือจบช้าได้ อาจารย์ที่ปรึกษานั้นที่เปรียบเสมือนหัวหน้างานของเรา ถ้าหัวหน้างานดีหรือเราสามารถเข้ากับหัวหน้างานได้ก็ทำงานสนุกแต่หากไม่ก็อาจทำให้เรียนไม่จบได้เช่นกัน เกณฑ์ที่ควรเลือกหาอาจารย์ที่ปรึกษานั้นได้แก่

  • เลือกอาจารย์ที่มีความถนัดกับงานวิจัยที่เราจะทำ การเลือกอาจารย์ที่มีความถนัดกับงานเรานั้นจะช่วยเติมเต็มความรู้ของเราได้และจะง่ายต่อการสอบอีกด้วย ในการทำวิทยานิพนธ์นั้นจะต้องมีการสอบหัวข้อและสอบจบ อาจารย์ที่ปรึกษาที่มีความถนัดกับงานวิจัยของเราจะช่วยให้การสอบของเรานั้นผ่านไปด้วยดี เช่น กรรมการสอบจะถามลึกในบางประเดนซึ่งบางทีเราก็อาจจะตอบไม่ได้ อาจารย์ที่ปรึกษาจะช่วยได้แต่หากอาจารย์ที่ปรึกษาเราไม่ถนัดกับหัวข้องานวิจัยที่เราเลือกแล้ว ก็จะไม่มีใครสามารถช่วยเราได้ก็จะทำให้สอบไม่ผ่านได้
  • จัดตารางเวลาของตัวเองกับอาจารย์ที่ปรึกษาให้ดี  อาจารย์แต่ละท่านนั้นก็มีเวลาว่างแตกต่างกันไป บางท่านจะจัดเวลาสำหรับให้ 1-2 วันต่อสัปดาห์เลยแต่ส่วนใหญ่อาจารย์จะว่างเวลาในราชการ ซึ่งจะลำบากสำหรับคนที่เรียนเวลานอกราชการต้องจัดตารางเวลาให้ดี ต้องขอหัวหน้างานหรือใช้วันลา บางท่านต้องสอบถามเป็นครั้งๆไป บางท่านอาจจะนัดนอกสถานที่ที่ใกล้บ้านอาจารย์เองเพื่อนัดคุยงาน และที่สำคัญเวลาของตัวเราเองซึ่งเรานะต้องจัดเวลาให้ตรงกันเวลาว่างของอาจารย์ที่ปรึกษาเรา หากเวลาเราไม่ตรงกันอาจารย์หรือไม่ค่อยมีเวลาว่างที่จะเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาเราแล้วก็จะทำให้งานเราคืบหน้าไปได้ช้าซึ่งจะทำให้จบช้าได้ด้วย
  • เข้ากับอาจารย์ให้ได้ ปัจจัยนี้เป็นปัจจัยที่ใหญ่มากมีผลต่อการเรียนจบหรือไม่จบของเราเลยทีเดียว เราต้องมั่นใจก่อนว่าอาจารย์ที่เราเลือกเป็นที่ปรึกษานั้นเราจะสามารถเข้ากับอาจารย์ได้เพราะเราต้องทำงานกับอาจารย์อย่างน้อย 1-2 ปีเลย ในระหว่างเรียนรายวิชาต่างๆช่วงปีแรกนั้นก็หมั่นสังเกตแนวการทำงานของอาจารย์แต่ละท่านได้ บางคนเคยเรียน ป.ตรี อยู่แล้วก็พอจะรู้จักอาจารย์ดีอยู่แล้ว อาจารย์บางท่านไม่เคยเจอแต่อยากให้เป็นที่ปรึกษาให้ก็หมั่นเข้าไปปรึกษาและคุยกับท่านดู หรือสอบถามจากรุ่นพี่ที่เคยเรียนมาก่อน
3. สอบวิทยานิพนธ์

     ในการสอบวิทยานิพนธ์นั้นจะแบ่งเป็นสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ และสอบป้องกันวิทยานิพนธ์(defense)

     สอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ การสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์จะเป็นการนำเสนอแนวความคิดของงานวิจัยเราเองว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • งานวิจัยของเราเองไม่ต้องไม่ซ้ำกับใครบนโลกนี้คือเราต้องคิดใหม่ขึ้นมาเลยหรือต่อยอดจากงานวิจัยของคนอื่นก็ได้ สามารถนำแนวความคิดของคนอื่นมาต่อยอดได้ ส่วนใหญ่ ป.โท จะเป็นการต่อยอดมากกว่า เช่น งานวิจัยหนึ่งทำเก้าอี้ 4 ขา งานวิจัยเราก็อาจจะทำเป็นเก้าอี้เหมือนกันแต่มี 3 ขาก็ได้
  • สิ่งที่นำเสนอต้องเป็นสิ่งที่ทำได้และไม่ยากจนเกินไป อยากให้ระวังขอบเขตงานของเราเองให้ดีคือต้องไม่ง่ายและไม่ยากจนเกินไปเพราะหากคิดยากเกินไปแล้วจะทำให้มีปัญหาตอนทำการทดลอง อาจทำให้ผลการทดลองล่าช้าหรือการการทดลองไม่สำเร็จซึ่งจะทำให้สอบไม่ผ่านตอนสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ก็ได้ คิดขอบเขตของงานให้ดีๆอะไรที่ทำไม่ได้หรือทำยากก็สามารถเสนอเป็นขอบเขตของงานได้ ทั้งนี้ต้องปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาอยู่เสมอ
  • การเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์ เนื่องจากเป็นโครงร่างจะยังไม่เยอะเท่ากับสอบป้องกันวิทยานิพนธ์แต่ก็มีข้อควรระวังก็คือ ต้องเขียนอธิบายให้คนอื่นเข้าใจยิ่ง ป.โท ในสายวิศวนั้นแล้วจะมีศัพท์เทคนิคเยอะมากซึ่งจะต้องเขียนอย่างให้เพื่อให้คนที่ไม่เข้าใจหรืออยู่ในสายงานของเราอ่านแล้วเข้าใจตรงนี้สำคัญสำหรับการเขียนเล่มมาก คิดผิดต้องไม่ให้มีซักตัวเดียวเองแนะนำว่าหาคนช่วยอ่านเยอะๆเพื่อหาคำผิดก่อนส่งให้อาจารย์ที่ปรึกษา และอีกอันหนึ่งที่สำคัญหรือต้องไม่คัดลอกบทความจากที่อื่นมา ปัจจุบันมีระบบตรวจสอบการคัดลอกหากคัดลอกมาอาจหมดสภาพการศึกษาได้เลย แนะนำว่าให้อ่านจากหลายๆแหล่งละให้เรียบเรียงคำพูดเป็นของตัวเอง
  • บรรยากาศการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ ในการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์นั้นจะประกอบไปด้วยอาจารย์ที่ปรึกษาเรา กรรมการสอบท่านอื่นๆ และกรรมการสอบภายนอกมหาวิทยาลัย จะมีอาจารย์ทั้งหมดประมาณ 3-5 ท่านขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัยละการเชิญกรรมการท่านอื่นของอาจารย์ที่ปรึกษา การสอบจะใช้เวลา 1.5 - 3 ชั่วโมงเลยทีเดียวขึ้นอยู่กับลักษณะและคำถามของอาจารย์แต่ละท่าน การสอบนั้นเริ่มจากการ Present งานของเรา ประโยชน์ ขอบเขตงาน เป็นต้น โดยการ Present  อาจะใช้เวลา 30-50 นาทีหลังจาก Present จบจะเป็นการถามตอบของกรรมการสอบแต่ละท่าน การถามของอาจารย์แต่ละท่านหลักๆจะถามในทฤษฏีที่เราได้นำเสนอไปโดยอาจจะถามเพิ่มเติมหรือถามในสิ่งที่เราไม่ได้พูดเพื่อวัดว่าเราเข้าใจในทฤษฏีที่เรากำลังจะใช้จริงหรือเปล่า นอกจากนั้นยังมีกลุ่มคำถามที่เกี่ยวกับงานวิจัยของเราเอง โดยมักจะถามถึงวิธีที่เราได้นำเสนอในงานวิจัยว่าทำไมต้องทำแบบนั้นเพื่อวัดในสิ่งที่เราตอบมาว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ รวมถึงจะมีการตั้งสมมติฐานของเหตุการณ์ขึ้น เพื่อให้เราตอบว่าถ้ามีกรณีนี้เกิดขึ้นงานวิจัยเราจะให้ผลอย่างไร สิ่งสำคัญของการตอบคำถามตอนสอบวิทยานิพนธ์ต้องพยามอธิบายให้กรรมได้เข้าใจ ตอบตรงประเดินไม่วงวน ส่วนใหญ่แล้วอาจารย์ที่ปรึกษาเราก็จะช่วยในบางประเดนเหมือนกัน แล้วมีกรณีที่คนสอบไม่ผ่านบ้างหรือไม่ จริงๆแล้วก็มีเหมือนกันส่วนใหญ่จะพลาดกันตรงอธิบายไม่รู้เรื่องหรือไม่แม่นในทฤษฏีหรืองานวิจัยของตัวเองจริงๆ หรืองานวิจัยซ้ำกับของคนอื่น การซ้อมเยอะๆจะช่วยให้มั่นใจในการสอบมากยิ่งขึ้น

     สอบป้องกันวิทยานิพนธ์หรือสอบจบ ในการสอบนั้นเราจะต้องทำเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูกรณ์ให้เสร็จก่อนที่จะสอบแต่การสอบจบนั้นจะหนักตรงเล่มวิทยานิพนธ์โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ผลการทดลองต้องเป็นไปตามขอบเขตที่ได้กำหนดไว้ แน่นอนว่างานวิจัยเราต้องทำได้ตามขอบเขตที่ได้เขียนไว้ เราต้องแสดงขั้นตอนการทดลองและผลการทดลองเขียนไว้อยู่ในเล่มวิทยานิพนธ์รวมถึงต้องนำเสนอตอนสอบจบต่อกรรมการด้วย หากผลการทดสอบไม่เป็นไปตามขอบเขตที่กำหนดไว้ อาจารย์ที่ปรึกษาอาจจะไม่ให้เราสอบจบจนกว่าผลการทดสอบจะเป็นไปตามขอบเขตที่กำหนดไว้
  • เขียนเล่มอันแสนยาก การเขียนเล่มจบวิทยานิพนธ์นั้นจะใช้เวลานานเพราะมีหลายหน้าและแต่ละหน้าต้องเขียนขึ้นมาเองและสื่อสารให้เข้าใจ โดยทั่วไปแล้ววิทยานิพนธ์จะประมาณ 60-150 หน้า ขึ้นอยู่กับเนื้องานของแต่ละคน
  • สอบจบเป็นอย่างไรบ้าง การสอบจบหรือสอบป้องกันวิทยานิพนธ์นั้นแนวทางจะคล้ายกับการสอบหัวข้อซึ่งโอกาสผ่านนั้นจะสูงกว่าเพราะได้ผ่านการสอบโครงร่างมาแล้วและได้ไป Conference มาแล้วแนวความคิดไม่น่ามีอะไรต้องกังวล แต่อย่างไรก็ตามงานที่ทำออกมาจะต้องทำได้จริง ผลการทดสอบเป็นไปตามขอบเขตที่กำหนดและต้องแม่นในเนื้อหากรรมการถามจุดไหนก็ต้องตอบได้


4. Conference หรืองานประชุมวิชาการ

     Conference เป็นงานเผยแพร่ผลงานทางวิชาการซึ่งเราเองก็ต้องนำเสนอผลงานงานวิจัยของเราเองด้วย ในสายวิศวนั้นหลายมหาวิทยาลัยบังคับให้ตีพิมพ์งานวิจัย และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรเพื่อจบการศึกษา ในการนำเสนอผลงานนั้นเราจะต้องมี Paper หรืองานวิจัยของเราใน version ภาษาอังกฤษส่งให้คนที่จัดงาน Conference ได้ Reveiw ก่อนหาก Paper ของของเราผ่านการ Review ก็สามารถเข้าร่วมงาน Conference เพื่อเสนอผลงานได้ การตีพิมพ์นั้นนั้นจะมีระดับชาติคือตีพิมพ์ในประเทศ และตีพิมพ์ระดับนานาชาติ ใน ป.โท และโดยเฉพาะในสายวิศวแล้วนั้นจะบังคับให้ตีพิมพ์ Paper ระดับนานาชาติซึ่งเราจะต้องเดินทางไปนำเสนอผลงานยังประเทศที่จัดงาน Conference ด้วย ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะเบิกกับมหาวิทยาลัยได้

     ในการส่ง Peper ยังผู้จัดงาน Conference นั้นจะสุดท้านแล้วผลงานจะได้ตีพิมพ์ซึ่งแหล่งตีพิมพ์นั้นก็มีหลากหลายแหล่งด้วยกัน แต่ละแหล่งนั้นก็จะมีระดับความยากง่ายต่างกัน เช่น ISI, Scopus ฐานข้อมูลทั่วไปที่ ป.โท จะตีพิมพ์นั้นจะเป็น Scopus (indexed by Scopus) 
     ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มทำ Paper รองาน Conference ไป Conference รวมถึงงานวิจัยเราได้เผยแพร่แล้วนั้นใช้ระยะเวลาพอสมควรจะใช้เวลาประมาณ 3-8 เดือน ซึ่งจะมีผลต่อเวลาที่จะจบของเราได้ เช่น บางมหาวิทยาลัยบังคับว่าต้องไป Conference มาแล้วถืงจะจบได้ บางมหาวิทยาลัยอาจจะต้องมีการเผยแพร่ผลงานก่อนถึงจะจบได้ ดังนั้นหลังจากสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์เสร็จควรจะรีบทำ Peper เพื่อไปงาน Conference ให้เร็วที่สุด

5. จัดเวลาเรียนให้ดี

     เรามีเวลาเรียน 1.5 ถึง 5 ปีที่จะสามารถจบ ป.โท ได้ ใครจบ 1.5 ปีนี้เป็นเก่งมากหรือเป็นคนที่มีหัวข้องานวิจัยและทำต่อยอดอยู่ได้ สูงสุดที่จะเรียน ป.โท ได้นั้นขึ้นอยู่กับหลักสูตรของแต่ละมหาวิทยาลัยโดยเฉลี่ยแล้วจะสามารถเรียนได้สูงสุด 4 ปีที่จะจบ หากเกินกว่านั้นจะหมดสภาพการศึกษา ถึงจะมีเวลาสูงสุด 4-5 ปีจริงแต่ไม่ได้ว่าจะมีเวลาตามนั้นจริงๆ เพราะการจะจบได้ประกอบด้วย โครงร่างวิทยานิพนธ์ Conference และสอบจบวิทยานิพนธ์ หลายมหาวิทยาลัยได้กำหนดไว้ว่าหากประมาณเทอม 4 (ปี 2 เทอม 2) ไม่สามารถสอบหัวข้อได้จะหมดสภาพการศึกษาหรือถูก retire นั้นเอง 
     รูปด้านล่างจะเป็นการช่วยวางแผนการเรียนให้จบภายใน 2 ปี ในช่วยแรกนั้นจะยังไม่ยุ่งมากเพราะ  Focus อยู่กับวิชาเรียนเป็นหลักแต่ปีถัดไปนั้นหากอยากให้จบตรงเวลาจะสังเกตว่ามีงานหลายๆงานต้องทำคู่กันไปเลยเพื่อให้จบทันจะกันเวลาให้กับการเรียนไว้ให้มาก ในภาพจะแสดงเป็นเทอมที่เรียนแต่ยังมีช่วงปิดเทอมที่สามารถใช้เวลาตรงนี้ทำงานวิจัยได้ โดยเฉลี่ยแล้ว ป.โท มักจะจบกันที่ 2-3 ปี



ป้ายกำกับ

แสดงเพิ่มเติม

บทความยอดนิยม

Software Development Life Cycle (SDLC) คืออะไร ทำไมจำเป็นต่อการพัฒนาซอฟต์แวร์

Automation testing หรือ การทดสอบซอฟต์แวร์อัตโนมัติ คืออะไร ทำไมถึงสำคัญต่อการทดสอบซอฟต์แวร์

ม.ปลายอยากเข้าสายคอม วิทยาการคอม วิศวกรรมคอม เตรียมตัวอย่างไร ต้องมีพื้นฐานอะไรบ้าง

วิธีเก็บ วิเคราะห์ รวบรวม requirement อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

Performance Test คือ อะไร วัดประสิทธิภาพของระบบ ล่มไม่ล่ม จะรู้ได้อย่างไร

8 สิ่งที่ AI จะมาเปลี่ยนโลกในอนาคต

ถอดรหัสความลับเครื่อง Enigma จุดเริ่มต้นและจุดจบของสงครามโลกครั้งที่ 2