Software as a Service บริการด้านซอฟต์แวร์ที่เน้นให้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต


     Software as a Service หรือ  SaaS เป็นการให้บริการด้านซอฟต์แวร์ให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้ตลอดเวลาผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยใช้แนวความคิดของ Cloud Computing มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานซอฟต์แวร์ได้ง่ายขึ้นไม่ต้องลงทุนฮาร์ดแวร์หรือติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อน ซึ่งจะแตกต่างจากการใช้งานแบบเดิมๆ คือต้องลงทุนหรือติดตั้งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์จึงจะสามารถใช้งานได้ ในแนวความคิดของ SaaS นั้นต้องการให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งาน Application ได้ง่ายโดยไม่ต้องเสียเวลาจัดการด้านฮาร์ดแวร์ ซึ่งการจัดการฮาร์ดแวร์นั้นผู้ให้บริการจะเป็นคนจัดการแทนผู้ใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น หากเราต้องการทำงานเอกสารปัจจุบันก็สามารถใช้ Google Docs ได้ เพียงแค่ป้อน username กับ password ก็สามารถเริ่มทำงานได้ทันที ทำที่ไหน เครื่องไหนก็ได้ และไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ให้ยุ่งยาก
     SaaS ได้รับความนิยมในปัจจุบันและจะยิ่งมากขึ้นในอนาคตเพราะผู้ใช้งานได้รับความสะดวกสบายมากเพราะไม่ต้องเสียเวลาจัดการฮาร์ดแวร์เอง ส่วนของผู้ให้บริการนั้นจากแต่ก่อนให้บริการซอฟต์แวร์ที่ต้องมีการติดตั้งหรือแบบ License ก็เกิดปัญหาว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ทำให้ผู้บริการเองได้รับความเสียหาย การนำซอฟต์แวร์มาให้บริการแบบ SaaS ทำให้ผู้บริการเองสามารถคิดค่าบริการได้และผู้ใช้งานเองก็สามารถจ่ายเงินตามปริมาณหรือเวลาที่ใช้งานได้ (On Demand Software) ในอนาคตนั้น SaaS น่าจะยิ่งเติมโตขึ้นอย่างมากยิ่งมีเทคโนโลยี 5G เข้ามาแล้วจะยิ่งทำให้การทำงานหรือการประมวลผลเร็วขึ้นอย่างมาก เราอาจจะได้โปรแกรมตัดต่อรูป ตัดต่อ VDO โปรแกรม 3D ทำผ่าน SaaS ทั้งหมด

SaaS กับ Cloud Computing นั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร?

     ระบบประมวลผลแบบ Cloud Computing หรือการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ เป็นเทคโนโลยีการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้เข้าถึงเครือข่ายทรัพยาการที่ใช้การประมวลผลร่วมกัน โดยผู้ให้บริการจะเป็นผู้แบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ใช้งาน ทำให้เข้าถึงและจัดการข้อมูลบน Could ได้ง่าย บริการบน Cloud computing ในปัจจุบันนั้นมี 3 ประเภทคือ
  • Software as a Service (SaaS) 
  • Platform as a Service (PaaS)
  • Infrastructure as a Service (laaS)


บริการบน Cloud computing

    จากภาพจะเห็นว่า SaaS นั้นอยู่บนยอดสุดของพีระมิด IaaS นั้นเป็นการจัดการระดับ Infrastrcture เช่น CPU, Memory, Network เป็นต้น PssS เป็นการจัดการระดับ Application และ Data เช่น Google Apps Engine Yard แต่ในบทความนี้จะเน้นกล่างถึง SaaS เนื่องจาก SaaS นั้นอยู่บนยอดสุดของพิระมิดดังนั้นจะไม่สนใจการจัดการทรัพยาการต่างๆเหมือนอย่าง PaaS และ IaaS แต่จะเน้นการใช้งานระดับ Application เป็นหลักซึ่งจะเหมาะสำหรับบริการที่เป็นมาตรฐานอยู่แล้วเช่นระบบ email ระบบบัญชี ระบบจัดการเอกสาร ตัวอย่างของ Application ที่ให้บริการได้แก่ Office365, Slack, Salesforce, Dropbox, Atlassian, Netsuite เป็นต้น 

ข้อดีข้อเสียของ SaaS


ข้อดีของ SaaS


ข้อเสียของ SaaS

 1. สามารถเข้าใช้งานจาก Planform อะไรก็ได้ เช่น จะใช้งานจาก Mac Os หรือ Windows ก็ได้

 1. ทุกๆการใช้งานจะต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเสมอ หากไม่เชื่อมต่อจะไม่สามารถใช้งานได้

 2. สามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ที่มีอินเทอร์เน็ต

 2. หากเครือข่ายของผู้ใช้บริการขัดข้องอาจทำให้ผู้ใช้งานไม่สามารถเข้าถึงบริการได้

 3. สามารถทำงานร่วมคนอื่นได้จากเอกสารเดียวกัน เช่น การช่วยกันทำงานเอกสารผ่าน Google Docs

 3. ฟังก์ชันของซอฟต์แวร์ที่ให้บริการผ่าน SaaS อาจมีความสามารถน้อยกว่าซอฟต์แวร์ที่ต้องติดตั้ง

 4. มีทางเลือกในการชำระค่าบริการการใช้งานซอฟต์แวร์ที่มากกว่า เช่น จ่ายเป็นรายเดือน จ่ายตามปริมาณข้อมูลที่ใช้ จ่ายตามพื้นที่ที่ใช้งาน เป็นต้น ซึ่งจะต่างจากการซื้อแบบ License ที่มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า

 4. หากองค์กรต้องการความสามารถเพิ่มเติม หรือเป็นความสามารถของซอฟต์แวร์ที่เฉพาะเจาะจงเฉพาะองค์กรนั้นๆจะไม่สามารถทำได้                                                                                                  

 5. ลงทุนน้อยเนื่องจากไม่ต้องลงทุนด้านฮาร์ดแวร์                                                                                                                                                                                                                                                               

  5. ด้านความปลอดภัย เนื่องจาก Application บน SaaS นั้นสามารถเข้าถึงที่หนก็ได้ด้วย username กับ password หากเราเข้าในงานในที่ที่ไม่ปลอดภัยและถูกแฮกเกอร์ขโมยข้อมูลไปได้ก็อาจส่งผลเสียอย่างมาก


ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ที่ใช้ SaaS

Dropbox 

     ย้อนกลับไปเมื่อ 10-20 ปีที่แล้วหากต้องการเก็บไฟล์งานต่างๆไว้เรามักจะเก็บไว้ใน harddisk, flash drive หรือ CD ซึ่งเราต้องพกพาอุปกรณ์เหล่านี้ไปด้วยเสมอจึงจะสามารถเปิดไฟล์งานขึ้นมาได้ แต่ Dropbox นั้นเป็นการฝากไฟล์ข้อมูลแบบออนไลน์ ที่เราจะเก็บอะไรก็ได้เพียงแค่ login เข้าเว็บไซต์ www.dropbox.com ก็สามารถอัปโหลดหรือเปิดไฟล์งานที่เราต้องการได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ Dropbox ยังมีบริการแชร์ไฟล์ให้คนอื่นและระบบสำรองข้อมูลอีกด้วย สำหรับค่าบริการนั้นจะขึ้นอยู่กับจำนวนพื้นที่ที่เก็บข้อมูลหากผู้ใช้งานต้องการพื้นที่มากค่าบริการก็จะสูงตาม



AdobeCreativeCloud

     Adobe Creative Cloud มีบริการ Creative Cloud เป็นการรวมโปรแกรมของ Adobe ให้บริการบน Cloud ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานแบบออนไลน์ได้จากแต่ก่อนทำงานได้แต่บน PC แต่ Creative Cloud สามาถทำงานผ่านมือถือและ tablet ได้อีกด้วย โปรแกรมที่ให้บริการเช่น Photoshop, Lightroom, Illustrator, InDesign เป็นต้น โดยผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้ทุกโปรแกรมและเลือกชำระตามการใช้งานได้อีกด้วย และยังสามารถเก็บไฟล์งานต่างๆไว้บน Cloud ได้อีกด้วย
ภาพผลิตภันฑ์เบื้องต้นของ Adobe Creative Cloud | ที่มา : surfspot.nl


ตัวอย่าง Feature Neural Filters บน Adobe Creative - Photoshop | ที่มา : adobe.com

ป้ายกำกับ

แสดงเพิ่มเติม

บทความยอดนิยม

Software Development Life Cycle (SDLC) คืออะไร ทำไมจำเป็นต่อการพัฒนาซอฟต์แวร์

Automation testing หรือ การทดสอบซอฟต์แวร์อัตโนมัติ คืออะไร ทำไมถึงสำคัญต่อการทดสอบซอฟต์แวร์

ม.ปลายอยากเข้าสายคอม วิทยาการคอม วิศวกรรมคอม เตรียมตัวอย่างไร ต้องมีพื้นฐานอะไรบ้าง

วิธีเก็บ วิเคราะห์ รวบรวม requirement อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

Performance Test คือ อะไร วัดประสิทธิภาพของระบบ ล่มไม่ล่ม จะรู้ได้อย่างไร

8 สิ่งที่ AI จะมาเปลี่ยนโลกในอนาคต

ถอดรหัสความลับเครื่อง Enigma จุดเริ่มต้นและจุดจบของสงครามโลกครั้งที่ 2