Centralized กับ Decentralized ข้อแตกต่างที่นำมาสู่การสร้าง Blockchain
จุดเด่นของ Blockchain นั้นคือการเป็น Decentralized หรือไม่อาศัยตัวกลางในการส่งผ่านข้อมูล แต่ก่อนจะอธิบายว่า Decentralized เป็นอย่างไร อยากให้เข้าในการทำงานของ Centralized ก่อน ซึ่งเป็นการว่ามีการทำงานอย่างไร
ตัวอย่างการทำงานแบบ Centralized ในเรื่องการโอนเงินจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง เช่น A ต้องการโอนเงินไปให้ B ซึ่งในการโอนเงินนั้นจะต้องผ่านตัวกลางซึ่งก็คือธนาคารนั้นเอง โดย A จะต้องแจ้งไปยังธนาคารก่อนว่าต้องการที่จะโอนเงินไปให้ B เป็นจำนวนเงิน XXX บาท จากนั้นธนาคารจะเป็นผู้ตัดเงินจาก A แล้วโอนเงินไปยัง B เป็นต้น จากตัวอย่างดังกล่าวจะสังเกตการโอนเงินนั้นจะต้องอาศัยตัวกลางหรือ Centralized นั้นเอง
ตัวอย่างการโอนเงินแบบ Centralized
ที่จริงแล้วแนวความคิดแบบ Decentralized นั้นได้แนวความคิดมาจาก Network Computing ระบบแบบ Decentralized นั้นเป็นระบบที่ไม่มีศูนย์กลางสำหรับการจัดเก็บและดูแลข้อมูล แต่ข้อมูลจะถูกกระจายไปยังแต่ละคนที่มีส่วนร่วมในการทำธุรกรรม เพื่อตรวจสอบและยืนยันข้อมูลในการทำธุรกรรม ทำให้ไม่ต้องอาศัยตัวกลางในการยืนยันข้อมูล ธุรกรรมที่ถูกยืนยันของผู้มีส่วนร่วมในการทำธุรกรรมนั้นยิ่งมีความปลอดภัยมาก เพราะการบันทึกการทำธุรกรรมต่างๆถูกบันทึกไว้หลายที่ แต่เมื่อใดก็ตามที่ต้องการยืนยันในการทำธุรกรรมว่าถูกต้องหรือไม่ คนที่มีส่วนร่วมในการทำธุรกรรมนี้เองก็จะเป็นผู้มายืนยันข้อมูลว่าถูกต้องหรือไม่ ทำให้การทำธุรกรรมยิ่งมีความปลอดภัยมากขึ้น
จากภาพด้านล่างเป็นตัวอย่างการทำธุรกรรมแบบ Decentralized สมมติว่า A ต้องการโอนเงินไปให้ D 500 บาท โดยธุรกรรมนี้จะถูกส่งไปให้ B และ F และ E จัดเก็บด้วย ซึ่งจะทำให้ทุกคนทราบว่า A จะเหลือเงินเท่าไหร่และส่งเงินไปให้ D เท่าไหร่ สมมติถ้า D บอกว่าไม่ได้รับเงินจาก A แสดงว่า A โกหก เพราะยังมีอีกหลายคนที่ยืนยันว่า A ส่งเงินไปให้ D แล้วจริงๆ หรือสมมติมี Hacker เข้ามาปลอมเป็น B โดย Hacker โกหกว่า A โอนเงินให้ D เพียง 100 บาท (อีก 400 บาท hacker จะขโมย) งานนี้ Hacker จะทำไม่สำเร็จ เพราะยังมีอีกหลายคนยืนยันแล้วว่า A โอนเงินไปให้ D 500 บาทเท่านั้น เงินต้องถึง D 500 บาท นี้เป็นการสมมติเพียงแค่ Network เล็กๆเท่านั้น ยิ่ง Network นี้ใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ หรือจำนวนคนที่มายืนยันในการทำธุรกรรมมากเท่าไหร่ระบบก็ยิ่งมีความปลอดภัยมากขึ้นตาม
ตัวอย่างระบบแบบ Decentralized
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียระหว่าง Centralized และ Decentralized
ข้อดี
|
ข้อเสีย
| |
Centralized
|
|
|
Decentralized
|
|
|
ลักษณะของ Blockchain (บล็อกเชน)
Blockchain นั้นเป็นการรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลแบบโครงสร้างข้อมูล (Data Structure) โดยอาศัยข้อมูลมีความสัมพันธ์กันและจัดเก็บข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลของ Blockchain เป็นการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นสายต่อกันและสามารถเชื่อมโยงไปยังบล็อกก่อนหน้าได้ ซึ่งแต่ละบล็อกที่มีการเชื่อมถึงกันนั้นจะมีการเข้ารหัสไว้โดย จากลักษณะของ Blockchain ที่ Block1 จะมีการเชื่อมต่อ Block2 ไปเช่นนี้เรื่อยๆ เหตุผลที่ต้องมีการเก็บบล็อกลักษณะนี้ขึ้นไปเรื่อยๆเพราะจะทำให้สามารถทราบได้ว่าบล็อกไหนเกิดก่อนหรือเกิดหลัง บล็อกดังกล่าวจะถูกคัดลอกไปยังผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเครื่องข่ายทุกคนในเครือข่ายล้วนมีลำเนาของบล็อกนี้ ทำให้เป็นเรื่องที่ยากมากๆที่จะมีคนแอบไปแก้ไขข้อมูล เพราะทุกคนล้วนมีสำเนาเพื่อใช้ในการยืนยันความถูกต้องของบล็อกนั้นได้
การทำงานของ Blockchain
ลักษณะโครงสร้างของ Blockchain นั้นจะแยกออกเป็น Block ซึ่งแต่ละ Block จะมีการเก็บธุรกรรมต่างๆที่ได้กระทำไว้ ข้อมูลธุรกรรมแต่ละธุรกรรมจะถูกบันทึกไว้ โดยโครงสร้างของ Blockchain หลักๆมีดังนี้
Proof of Work
คือการพิสูจน์การทำงานเพื่อยืนยัน Transaction ที่เกิดขึ้น เมื่อมีรายการใหม่เกิดขึ้น Block ก็จะถูกสร้างขึ้นและจะถูกประกาศไปให้ทุกคนใน Network แต่ละคนใน Network จะเป็นคนตรวจสอบความถูกต้องของ Block ละเมื่อตรวจสอบว่าถูกต้องแล้ว ก็จะบันทึก Block ใหม่นั้นเข้าไป
บทสรุป
ในอนาคต Blockchain จะไม่ได้เป็นเพียงแค่เทคโนโลยีแต่อาจมีความเป็นไปได้ที่จะถูกนำมาแทนที่ธุรกรรมต่างๆที่ต้องอาศัยตัวกลาง เช่น ธนาคาร เพราะนอกจากมีความปลอดภัยแล้วยังไม่ต้องอาศัยตัวกลางอีกด้วย ในอนาคต Blockchain อาจมีบทบาทด้านอื่นอีกมากมาย ที่ไม่เพียงแค่ธุรกรรมทางการเงินเท่านั้น อาจมีการประยุกต์ใช้กับทุกกลุ่มอุตสาหกรรมจนกลายเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่เปลี่ยนโลกก็เป็นไปได้
Reference :
- https://www.youtube.com/watch?v=SSo_EIwHSd4
- https://techsauce.co/tech-and-biz/understand-blockchain-in-5-minutes
- https://www.tnt.co.th/en/news/166-what-is-blockchain
- http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5902037216_7286_6011.pdf
- Data คือข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้แต่ละ Block เช่น ข้อมูลธุรกรรมของ A โอนไปยัง B จำนวนเงิน 500 บาท
- Hash คือการนำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาเข้ารหัสผ่านกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ซึ่งทำให้ข้อมูลนั้นถูกเข้ารหัสไว้
- Previous Block เป็นการสร้าง Chain (โซ่) ของ Block เข้าด้วนกัน โดยการเชื่อมเข้ากับค่า Hash ของ Block ก่อนหน้า
Hash จะถูกสร้างขึ้นมาเมื่อเกิด Block และหากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลภายใน Block เช่นมีข้อมูลธุรกรรมเกิดขึ้น Hash ก็จะถูกเปลี่ยนแปลง การสร้าง Block ถัดไปเช่น Block ที่ 2 จะเชื่อม Hash ของ Block ก่อนหน้า ซึ่งจึงเป็นเหตุผลให้ผูกเป็น Chain ไปเรื่อยๆ สมมติมี Hacker ต้องการเปลี่ยนข้อมูลธุรกรรมที่เกิดใน Block ที่ 2 เช่น ต้องการเปลี่ยนบัญชีปลายทางให้โอนไปเป็นของ Hacker เอง ซึ่งการเปลี่ยนบัญชีนี้เอง เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อมูลภายใน Block ที่เกิดขึ้นจะต้องมีการคำนวณค่า Hash ใหม่ เพราะค่า Hash จะถูกคำนวณตามข้อมูลภายใน Block ซึ่งก็จะทำให้ถูกจับได้โดย Block ที่ 3 เพราะ Block ที่ 3 จะเก็บค่า Hash ของ Block ก่อนหน้า ด้วยการผู้ลักษณะแบบ Chain นี้เองทำให้ยิ่งมีความปลอดภัยมากขึ้น เพียงแต่ Hash คงยังไม่ปลอดภัยพอสำหรับ Blockchain ดังนั้นจึงต้องใช้กลไก Proof of Work เข้ามาช่วย
คือการพิสูจน์การทำงานเพื่อยืนยัน Transaction ที่เกิดขึ้น เมื่อมีรายการใหม่เกิดขึ้น Block ก็จะถูกสร้างขึ้นและจะถูกประกาศไปให้ทุกคนใน Network แต่ละคนใน Network จะเป็นคนตรวจสอบความถูกต้องของ Block ละเมื่อตรวจสอบว่าถูกต้องแล้ว ก็จะบันทึก Block ใหม่นั้นเข้าไป
บทสรุป
ในอนาคต Blockchain จะไม่ได้เป็นเพียงแค่เทคโนโลยีแต่อาจมีความเป็นไปได้ที่จะถูกนำมาแทนที่ธุรกรรมต่างๆที่ต้องอาศัยตัวกลาง เช่น ธนาคาร เพราะนอกจากมีความปลอดภัยแล้วยังไม่ต้องอาศัยตัวกลางอีกด้วย ในอนาคต Blockchain อาจมีบทบาทด้านอื่นอีกมากมาย ที่ไม่เพียงแค่ธุรกรรมทางการเงินเท่านั้น อาจมีการประยุกต์ใช้กับทุกกลุ่มอุตสาหกรรมจนกลายเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่เปลี่ยนโลกก็เป็นไปได้
Reference :
- https://www.youtube.com/watch?v=SSo_EIwHSd4
- https://techsauce.co/tech-and-biz/understand-blockchain-in-5-minutes
- https://www.tnt.co.th/en/news/166-what-is-blockchain
- http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5902037216_7286_6011.pdf